บทคัดย่อ:จำคุก 5 ปี ! อดีตผู้บริหาร Zipmex ฐานฉ้อโกงประชาชน เสียหายกว่าพันล้าน
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาคดีที่มีผู้เสียหายรายหนึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 คือ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด ซึ่งเคยเป็นผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลที่โด่งดังและเป็นที่นิยมมากที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย และจำเลยที่ 2 คือ นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ซึ่งเป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 พิพากษาลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท และ ลงโทษจำคุกนายเอกลาภ ยิ้มวิไล เป็นเวลา 5 ปี ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง โดยการอ่านคำพิพากษาคดีนี้ไม่ปรากฏการรอลงอาญาและจำเลยอาจอยู่ในช่วงการใช้สิทธิประกันตัว
นายกิจจา จงขวัญยืน ตัวแทนผู้เสียหายกลุ่ม ‘ร่วมสู้ Zipmex’ ซึ่งได้ส่งทีมกฎหมายเข้าสังเกตการณ์ฟังคำพิพากษาวันนี้ เปิดเผยว่า ขอบคุณศาลที่ให้ความเป็นธรรมต่อประชาชนตัวเล็กๆ ที่ลุกขึ้นสู้กับคนที่พวกพ้องมีอำนาจใหญ่โต และต้องขอบคุณเพื่อนผู้เสียหายและทีมทนายของผู้เสียหายที่เสียสละเดินหน้าฟ้องคดีอาญาไปก่อนจนทำให้เกิดความคืบหน้าวันนี้ โดยปัจจุบันมีผู้เสียหายรวมตัวกันแล้ว กว่า 700 ราย มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท และทางกลุ่มได้ร่วมมือกันยื่นฟ้องคดีผู้บริโภคแบบกลุ่ม (consumer class action) โดยฟ้องจำเลย 23 ราย ทั้งในไทยและนอกประเทศเพื่อเรียกค่าเสียหายเพื่อการลงโทษรวมไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
“อำนาจไม่จีรัง ความยุติธรรมจีรังยั่งยืน” นายกิจจากล่าว
ด้านนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ผู้ก่อตั้งสำนักกฎหมาย VLA ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ตัวแทนกลุ่มร่วมสู้ Zipmex ที่ยื่นฟ้องคดีแพ่งแบบกลุ่มเปิดเผยว่า คดีนี้มีประชาชนเสียหายเป็นหมื่นราย แต่เรื่องผ่านมาเกือบสามปีกลับต้องให้ประชาชนไปแบกภาระฟ้องคดีอาญาเองจนชนะคดีในที่สุด แต่ก็เป็นผลคดีเฉพาะราย จึงขอให้ภาครัฐโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ เร่งดำเนินคดีอาญาแผ่นดินเอาผิดผู้เกี่ยวข้องซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่สองราย และเรียกความเป็นธรรมให้ผู้เสียหายทุกคนโดยเร็วที่สุด
“เรามีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศร่วมมือกันหลอกลวงประชาชนให้หลงเข้าใจว่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าซิปเม็กซ์ได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย และไม่มีการนำไปใช้ในทางที่เสี่ยง แต่แท้จริงกลับนำสินทรัพย์ของผู้เสียหายไปใช้ในการกู้ยืมเงินในต่างประเทศโดยผิดกฎหมายเพื่อหวังกอบโกยประโยชน์ทางธุรกิจของพวกพ้อง จนลูกค้ากว่าหมื่นรายเสียหายร้ายแรง ผู้เกี่ยวข้องรายใดที่สำนึกผิด ขอให้รีบแสดงความจริงใจช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายให้เร็วที่สุด” นายวีรพัฒน์ กล่าวเสริม
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมทางกลุ่ม ‘ร่วมสู้ Zipmex’ กำลังประสานกับผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ในคดีนี้เพื่อนำคำพิพากษามาศึกษารายละเอียดต่อไป โดยผู้เสียหายที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารจากกลุ่มได้โดยเพิ่มเพื่อนที่ไลน์ทางการ ไอดี @SUZIPMEX
ขอบคุณข้อมูลจาก siamblockchain
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
บทความนี้สำรวจ 5 ประเทศที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินตราระดับโลก ได้แก่: สหราชอาณาจักร (ลอนดอน) – ศูนย์กลางอันดับหนึ่งของโลก มีสภาพคล่องสูงสุดเพราะเชื่อมโยงตลาดเอเชียและอเมริกา สหรัฐอเมริกา (นิวยอร์ก) – ฐานหลักของดอลลาร์สหรัฐ และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ สิงคโปร์ – ศูนย์กลางการเงินของเอเชีย และประตูสู่ตลาดเอเชียแปซิฟิก ฮ่องกง – เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีน และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินหยวนนอกประเทศจีน ญี่ปุ่น (โตเกียว) – ฐานหลักของเงินเยน และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น การเข้าใจโครงสร้างและลักษณะเฉพาะของตลาดเหล่านี้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและวางกลยุทธ์การซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรมสรรพากรสหรัฐฯ เลิกจ้างพนักงานราว 6,000 ตำแหน่งตามนโยบายทรัมป์
บทวิเคราะห์ทองคำ
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
TMGM
Exness
FxPro
ATFX
Neex
AvaTrade
TMGM
Exness
FxPro
ATFX
Neex
AvaTrade
TMGM
Exness
FxPro
ATFX
Neex
AvaTrade
TMGM
Exness
FxPro
ATFX
Neex
AvaTrade