บทคัดย่อ:มือใหม่จดเลย ! การลำดับความสำคัญในการเทรด
วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ การลำดับความสำคัญในการเทรด”
การลำดับความสำคัญในการเทรดมีความสำคัญต่อความประสบความสำเร็จของเรา และการจัดลำดับนี้อาจแตกต่างกันไปตามลักษณะการเทรดและสไตล์การลงทุนของแต่ละบุคคล
การลำดับความสำคัญในการเทรดช่วยให้เรามีการวางแผนและวิเคราะห์ได้ชัดเจนเเละง่ายขึ้นมาก ๆ เพราะมันจะทำให้เราไม่หลงทิศทางในการเทรดเเละเลือกวิธีการเทรดที่เหมาะสม ซึ่งหลายคนชอบข้ามขั้นตอนในการเทรด เช่น มองกราฟเเล้วกดออเดอร์เลย โดยที่มองข้าม Setup ของตัวเราเอง
การลำดับความสำคัญไม่ได้ช่วยให้เราเทรดได้ง่ายขึ้นเเต่จะช่วยให้เราพัฒนาระบบทักษะในการเทรดของเราด้วย ช่วยเรื่องของการควบคุมอารมณ์และจิตใจ การลำดับความสำคัญ จะช่วยให้เรามีสติ ไม่มีติสเเตกเเน่นอน
ในหัวข้อวิเคราะห์กราฟ
ขั้นตอนที่ 1 สิ่งที่ต้องมองหาเลยคือ Trend หรือแนวโน้มราคา ว่าอยู่ในสภาวะแบบไหน ในภาพตัวอย่างกราฟเป็น DownTrend พอเราระบุได้แล้วว่ากราฟมีแนวโน้มอะไร
ขั้นตอนที่ 2 เราต้องมองหา Zone ราคา อันนี้จะใช้ Support & Resistance แนวรับต้าน เราจะเห็นว่ากราฟมีการ Breakout ลง ไปทำ New Low ทำให้ยืนยันได้ว่ากราฟมีโอกาสที่จะลงต่อได้
ในหัวข้อวิเคราะห์กราฟ
ในตัวอย่างที่ 2.1 เราจะมาในหัวข้อของ Technical ใน Case นี้เราจะใช้เทคนิค Breakout มาช่วยวิเคราะห์กราฟราคา ในภาพเราจะเห็นว่ากราฟได้ Breakout ลงทำ New Low ทีนี้เราจะมารอเข้าออเดอร์จุดที่กราฟ Breakout ลงมาที่ Zone1 ที่เป็นแนวต้านแรก เราก็มา Scan ดูต่อว่า ใน Zone นัน้มีนัยสำคัญอะไรบ้าง
ตัวอย่างนี้จะยกตัวอย่างการเข้าออเดอร์ เรามาดูก่อนว่าจุด Entry ของเรามีอะไรบ้าง ในรูปเราจะเห็นกราฟยกตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้าน Zone ที่ 1 และ ใน Zone ที่ 1 มีนัยสำคัญอะไรบ้าง ที่เห็นก็จะมีแนวต้าน เส้น EMA และใน Case เราจะใช้ RSI เข้ามาช่วยเช็ก Hidden Divergence ในรูปมีสัญญาณ Hidden Divergence เราสามารถเข้าออเดอร์ได้เลย เพราะมีจุด Confluence Zone หลายสัญญาณ
หลังจากกราฟได้ลงต่อ ในกรณีนี้เราสามารถใช้ PA หรือรูปแบบแท่งเทียนเข้ามาช่วยยืนยันเพิ่มก็ได้
ในภาพตัวอย่างที่ 1 กราฟเป็นเทรนด์ขาลงเพราะราคาทำ High และ Low ต่ำลง ราคามีการ Breakout แนวรับลงไปทำ New Low เกิดเป็น LowerLow ทีนี้เราก็มาหาจุดเข้า Order กัน
จุดเข้า Order จะเป็นแนวรับล่าสุด จุดที่กราฟ Breakout จุดนี้เราจะเรียกว่า Pullback
การลำดับความสำคัญใน Case นี้
ขั้นตอนที่ 1 โครงสร้างตลาดคืออะไร >> ในเคสนี้คือขาลง
ขาลงอย่างไร..? คือ ราคาทำ High และ Low ที่ต่ำลง ทำ LowerHigh กับ LowerLow
ขั้นตอนที่ 2 หา Zone ในการเข้าเทรด จุดที่เทรดขาลงแล้วได้เปรียบคือ SwingHigh ได้บ้าง
ในตัวอย่างจะใช้ Fibo+Supply ในการรอเข้าเทรด เราจะรอราคาย่อขึ้นมาเทสโซนอย่าง Supply Zone กับ Fibo 61.8 เพื่อรอพิจารณาเข้าออเดอร์ Sell
ขั้นตอนที่ 3 ในเรื่องของสัญญาณในการเข้าเทรด เราต้องรอให้ราคาเข้าโซนที่ได้เปรียบก่อน หรือรอให้ ขั้นตอนที่ 1 จบก่อนถึงจะใช้ขั้นตอนที่ 3 ได้ ในขั้นตอนที่ 3 หลังจากราคาเข้าโซน
ในเคสนี้เราจะใช้ RSI มาดู Hidden Divergence
จุดสังเกต Hidden Divergence : กราฟราคาทำ LowerHigh ที่ต่ำลง แต่ RSI กลับ HigherHigh ที่สูงขึ้น ขัดแย้งกัน
ขั้นตอนที่ 4 ในการตั้ง TP, SL และ MM
ตั้ง Stop Loss เราจะใช้ Chart Stop คือตั้งเหนือ Swing LowerHigh SL ประมาณ 400 จุด
ในการ MM 1000 x 1%/SL400จุด=0.02
พอเราคำนวณแล้วได้ 0.02 ถ้ากราฟไม่ไปแบบที่เราคิดเราจะเสียอยู่ที่ -8USD ในส่วนของ TP เราจะใช้ RRR1:3 TP1200จุด ถ้าราคาไปตามแบบที่เราคิดจะได้กำไร +24USD
การลำดับความสำคัญ
1. หาก่อนว่าโครงสร้างราคาเป็นเทรนด์อะไร >> เป็นขาขึ้น
เป็นขาขึ้นอย่างไร คือ ราคาทำ High และ Low ที่สูงขึ้น ทำ HigherHigh กับ HigherLow
2. Zone ราคา ในการเข้าเทรดจุดที่เทรนด์ขาขึ้นที่ได้เปรียบ คือ SwingLow หรือจุดที่จะ HigherLow เรามาหาจุดที่มีโอกาสเป็น SwingLow ด้วยการลาก Fibinacci เพื่อหาจุดที่ราคามีโอกาสย่อลงไปทำ Swing Low หรือ Higher Low ในโซน Key Level 61.8 เราจะเห็นโซน TB หรือ Throwback
3. ในการ MM 1000x5%/SL3000จุด
พอเราคำนวณแล้วได้ 0.16 ถ้ากราฟไม่ไปแบบที่เราคิดเราจะเสียอยู่ที่ -48USD ในส่วนของ TP เราจะใช้ RRR 1:3 TP 900 จุด
ถ้าราคาไปตามแบบที่เราคิดเราจะได้กำไร +144 USD
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากเพจ Alice Veronica, WarriorTrader
แอดเหยี่ยวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! อย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
ถอดคำแถลงการณ์ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ผู้ตัดสินของ SkyLine Guide ครั้งแรกได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยง WikiFX SkyLine Appreciation Dinner ซึ่งในงานนี้ WikiFX ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการก่อตั้ง SkyLine Judge Community ชุมชนมืออาชีพใหม่ที่มีเป้าหมายในการรวบรวมบุคคลชั้นนำจากวงการต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต โดยมีคำขวัญว่า "ที่ที่นักเทรดมืออาชีพรวมตัวและเติบโต
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
TMGM
HERO
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
TMGM
HERO
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
TMGM
HERO
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
TMGM
HERO