บทคัดย่อ:ทำไมคู่สกุลเงินจึงมี Currency Correction เป็นบวกหรือลบ ? เนื่องจากสกุลเงินสะท้อนพื้นฐานของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก ๆ
Currency Correlation คืออะไร?
คือ ความสัมพันธ์ของสกุลเงิน เป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเชิงสถิติที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกแก่นักเทรดว่า คู่สกุลเงินเคลื่อนไหวอย่างไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่น ๆ โดยมีความสัมพันธ์ คือ หากคู่สกุลเงิน 2 คู่ มีการเคลื่อนไหวขึ้นไปพร้อมกัน นั่นแสดงว่า คู่สกุลเงินนั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันใน “เชิงบวก” แต่หากคู่สกุลเงิน 2 คู่ เคลื่อนไหวตรงข้ามกัน คู่หนึ่งแข็งค่า อีกคู่หนึ่งอ่อนค่าลง จะหมายความว่า คู่สกุลเงินนั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันใน “เชิงลบ” หากคู่สกุลเงิน 2 คู่ เคลื่อนที่แบบสุ่ม โดยไม่มีความสัมพันธ์ที่สามารถตรวจพบได้ หมายถึง คู่สกุลเงินนั้น “ไม่มีความสัมพันธ์” ต่อกัน
ขอบคุณรูปจาก forexlearning
ทำไมคู่สกุลเงินจึงมี Currency Correction เป็นบวกหรือลบ ?
เนื่องจากสกุลเงินสะท้อนพื้นฐานของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก ๆ ทั้งด้านความสัมพันธ์กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD), เศรษฐกิจ, การเมือง, ความแตกต่างของนโยบายการเงิน, การเปลี่ยนแปลงนโยบายธนาคารกลาง, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัจจัยอื่น ๆ ความเชื่อมโยงของสกุลเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่ง ณ ตอนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่รับประกันถึงสิ่งที่เหมือนเดิมในอนาคต ขอแนะนำให้ตรวจสอบความเชื่อมโยงในระยะยาว และหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ตัวอย่าง Currency Correlation เชิงบวก
โดยทั่วไปแล้ว EURUSD และ GBPUSD ถือเป็นคู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก โดยเชื่อมโยงกันด้วยความสัมพันธ์กับ USD และความสัมพันธ์ทางการค้าและนโยบายการเงินระหว่างสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
จะเห็นว่า กรณีของยุโรปและอังกฤษ ถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญ โดยธรรมชาติค่าเงินจึงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
ตัวอย่าง Currency Correlation เชิงลบ
โดยทั่วไปแล้ว EURUSD และ USDCHF มีความสัมพันธ์เชิงลบ โปรดสังเกตว่า ราคาที่ใช้เป็นหน่วยซื้อขาย (ตัวหลัง) แตกต่างกัน ซึ่งก็อาจไม่น่าแปลกใจที่สกุลเงินวิ่งไปคนละทิศทาง ตัวอย่างจากเรื่องนี้
ความแข็งแกร่งของ USD ในสถานการณ์ที่ USD แข็งค่าเมื่อเทียบกับ EUR คู่ EURUSD จะลดลง
ในทางกลับกัน เมื่อ USD เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ CHF คู่ USDCHF จะเพิ่มขึ้น นำไปสู่ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่าง EURUSD และ USDCHF
ข่าวที่ส่งผลต่อ Currency Correlation
ดูตัวอย่างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่าง EURUSD และ GBPUSD ในสถานการณ์ข่าวการซื้อขาย Federal Reserve หรือ FED ที่ตัดสินใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย (ข่าวการซื้อขาย) และ USD แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ EUR และ GBP (ปฏิกิริยาของตลาด) ส่งผลให้ EURUSD และ GBPUSD ลดลง ซึ่งแสดงความสัมพันธ์เชิงบวก
ยกตัวอย่างความสัมพันธ์เชิงลบระหว่าง EURUSD และ USDCHF โดยใช้สถานการณ์ข่าวการซื้อขายเดียวกัน การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ Federal Reserve ทำให้ USD แข็งค่าขึ้น ซึ่งหมายความว่า EURUSD ลดลงและ USDCHF สูงขึ้น ซึ่งแสดงความสัมพันธ์เชิงลบ
ระดับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สกุลเงินจะแตกต่างกันไป และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า “ช่วงเวลาดังกล่าว” คู่สกุลเงินยังมี Currency Correlation ตรงตามกลยุทธ์ของเรา
เมื่อสรุปภาพรวมของความสัมพันธ์ของสกุลเงิน หรือ Currency Correlation จะเป็นกรอบพื้นฐานให้เราสามารถใช้ในการตัดสินใจซื้อขายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
สรุป
Currency Correction ก็คือ ความสัมพันระหว่างสกุลเงิน 2 คู่ ที่แสดงผลออกมาเป็นบวกหรือลบ สื่อถึงความเชื่อมโยงในการเคลื่อนที่ระหว่างกัน นักเทรดสามารถใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจการเปิดสถานะได้ แต่ความสัมพันธ์ของคู่เงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรติดตามข่าวสาร และใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วยป้องกันความเสี่ยงไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก Admiralmarkets
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
EC Markets
ATFX
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
EC Markets
ATFX
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
EC Markets
ATFX
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
EC Markets
ATFX