บทคัดย่อ:Stochastic Oscillator (STO) เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Momentum ที่ช่วยให้เทรดเดอร์ที่อ่านกราฟสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ได้ โดยพิจารณาจากการแกว่งตัวของราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับราคาสูงสุดและต่ำสุดที่กำหนดไว้ อินดิเคเตอร์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ RSI Indicator แต่ STO จะประกอบด้วยเส้นสองเส้นที่มีค่าตั้งแต่ 0-100 นอกจากนี้ Stochastic Oscillator ยังสามารถบอกถึงสภาพของตลาดเมื่อเกิดสภาวะ Overbought & Oversold ได้อีกด้วย
การเทรดสั้นเช่น Day Trade, Scalping และ Swing Trade เป็นเทคนิคการเทรด Forex ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะทำกำไรได้รวดเร็ว และมีโอกาสทำกำไรหลายครั้งต่อวัน และตัวช่วยยอดนิยม สำหรับสายเทรดสั้นนั้นคือ “Stochastic Oscillator” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “STO” ซึ่งมีจุดเด่นที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนและยังช่วยบอกจุดเข้าซื้อ-ขายให้แก่นักเทรดได้อีกด้วย ในบทความนี้แอดเหยี่ยวจะพามาทำความรู้จัก วิธีการอ่านค่า รวมถึงบอกจุดเด่นและข้อจำกัดในการใช้ ให้กับนักเทรด ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
Stochastic Oscillator คืออะไร?
Stochastic Oscillator (STO) เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Momentum ที่ช่วยให้เทรดเดอร์ที่อ่านกราฟสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ได้ โดยพิจารณาจากการแกว่งตัวของราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับราคาสูงสุดและต่ำสุดที่กำหนดไว้ อินดิเคเตอร์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ RSI Indicator แต่ STO จะประกอบด้วยเส้นสองเส้นที่มีค่าตั้งแต่ 0-100 นอกจากนี้ Stochastic Oscillator ยังสามารถบอกถึงสภาพของตลาดเมื่อเกิดสภาวะ Overbought & Oversold ได้อีกด้วย
ทำความรู้จักเพิ่มเติมกับ Overbought & Oversold
Overbought หมายถึง สภาวะของตลาดที่มีการซื้อมากเกินไป ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น จนมีแนวโน้มที่แรงซื้อจะอ่อนตัวลงและถูกแทนที่ด้วยแรงขายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินทรัพย์ชะลอการปรับตัวขึ้นและอาจกลับตัวเป็นขาลง
Oversold หมายถึง สภาวะของตลาดที่มีการขายมากเกินไป ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ลดลงกว่าปกติ ทำให้มีแนวโน้มที่แรงขายจะอ่อนตัวลงและถูกแทนที่ด้วยแรงซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ชะลอการปรับตัวลงและอาจกลับตัวเป็นขาขึ้น
Stochastic Oscillator บอกอะไรบ้าง?
Stochastic Oscillator สามารถให้ข้อมูลกับเทรดเดอร์ได้หลัก ๆ ดังนี้
Overbought & Oversold
Divergence
จุดกลับตัวจากการตัดกันของ Indicator (Cross Reversal)
ขอบคุณรูปจาก GoTradeHere
สูตรคำนวณของ Stochastic Oscillator
tochastic Oscillator จะมีส่วนประกอบทั้งหมด 2 เส้น ได้แก่ เส้น %K และ %D โดยจะมีสูตรคำนวณ ดังนี้
%K (Current Close – Lowest Low) / (Highest High – Lowest Low) X 100
%D 3-day SMA of %K
เมื่อแทนค่าด้วย
Current Close แทนด้วย ราคาปิดล่าสุด
Lowest Low แทนด้วย ราคาต่ำสุดตามช่วงเวลาที่กำหนด
Highest High แทนด้วย ราคาสูงสุดตามช่วงเวลาที่กำหนด
วิธีการอ่านค่า Stochastic Oscillator
%K > 80 หมายถึง ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะ Overbought ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีโอกาสที่ราคาสินทรัพย์จะปรับตัวเป็นขาลง
%K < 20 หมายถึง ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มลดลงจากสภาวะ Oversold ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีโอกาสที่ราคาสินทรัพย์จะปรับตัวเป็นขาขึ้น
จุดเด่นและข้อจำกัดในการใช้ Stochastic Oscillator
จุดดเด่นของ Stochastic Oscillator
ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน
บอกจุดเข้าซื้อและจุดขายได้ผ่านจุดตัดของเส้น %K และ %D
บอกแนวโน้มและการกลับตัวของราคาผ่านสภาวะ Overbought/Oversold และ Divergence
สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือตัวอื่นได้อย่างง่ายดาย
ข้อจำกัดของ Stochastic Oscillator
ให้สัญญาณช้า
ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างอินดิเคเตอร์มีน้อย ทำให้ต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เพิ่มเติม
เกิดสัญญาณหลอกได้ง่าย
ขอบคุณข้อมูลจาก GoTradeHere
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
HTFX
CPT Markets
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
HTFX
CPT Markets
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
HTFX
CPT Markets
FXTM
FOREX.com
Exness
DBG Markets
HTFX
CPT Markets