เหตุการณ์และตัวเลขเศรษฐกิจน่าติดตาม
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567
- จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ตัวเลขคาดการ์ณ 220K ตัวเลขครั้งก่อน 217K
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต (พ.ย.) ตัวเลขครั้งก่อน 48.5
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ (พ.ย.) ตัวเลขครั้งก่อน 55.0
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
- ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (S&P Manufacturing and Services PMIs) เดือนพฤศจิกายน รวมถึงรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของเฟด หลังล่าสุดเจ้าหน้าที่เฟดบางส่วนเริ่มส่งสัญญาณว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น ซึ่งผู้เล่นในตลาดต่างก็ประเมินว่า เฟดเริ่มมีโอกาสมากขึ้นที่จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ส่วนในปีหน้าเฟดก็อาจลดดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าที่เฟดได้ระบุไว้ใน Dot Plot เดือนกันยายน
- ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของอังกฤษ ทั้ง อัตราเงินเฟ้อ CPI ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนตุลาคม รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE ซึ่งล่าสุด บรรดาผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า BOE จะยังไม่รีบเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ (โอกาสลดดอกเบี้ย 25bps น้อยกว่า 20%) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) จากทั้งดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB เช่นกัน ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า ECB จะสามารถเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ และมีโอกาสราว 24% ที่ ECB อาจเร่งลดดอกเบี้ยถึง 50bps ได้
- ฝั่งเอเชีย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งผู้เล่นในตลาดจะใช้ประกอบการประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาทิ อัตราเงินเฟ้อ CPI ยอดการส่งออกและนำเข้า (Exports & Imports) ในเดือนตุลาคม รวมถึง รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการในเดือนพฤศจิกายน โดยล่าสุดผู้เล่นในตลาดเริ่มประเมินว่า มีโอกาสราว 54% ที่ BOJ อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย +25bps ในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ในส่วนนโยบายการเงิน เราประเมินว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) อาจคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 6.00% เพื่อช่วยลดแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าและรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียะห์ (IDR) ที่เผชิญการอ่อนค่าพอสมควรเช่นเดียวกับบรรดาสกุลเงินฝั่งเอเชีย ท่ามกลางความกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจฝั่งเอเชียจากนโยบายรัฐบาล Trump 2.0
- ฝั่งไทย – ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวได้ราว +2.4%y/y หนุนโดยการขยายตัวในภาคการส่งออกและการลงทุน โดยเฉพาะในส่วนของการลงทุนภาครัฐ ในส่วนของแนวโน้มค่าเงินบาทนั้น เราประเมินว่า เงินบาทมีโอกาสชะลอการอ่อนค่าลง โดยเฉพาะหากราคาทองคำสามารถรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง อีกทั้งเงินดอลลาร์ก็อาจไม่ได้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องไปมากนัก หลังผู้เล่นในตลาดได้รับรู้แนวโน้มเฟดอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot เดือนกันยายน มากพอสมควรแล้ว นอกจากนี้ ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI, MACD และ Stochastic ใน Time Frame รายวัน ก็สะท้อนว่า แม้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงต่อ ทว่าโมเมนตัมการอ่อนค่าก็ชะลอลง ทำให้เราประเมินว่า เงินบาทอาจยังไม่สามารถอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ ได้ในระยะสั้นนี้ โดยเราได้ Call Short-term Peak USDTHB แถวโซน 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และมีโอกาสที่เงินบาทอาจผ่านจุดอ่อนค่าสุดในระยะสั้นไปแล้ว จนกว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!