หน้าแรก -
ต้นฉบับ -
บทความ -

WikiFX เอ็กซ์เพรส

Exness
EC Markets
TMGM
XM
FXTM
FOREX.com
AvaTrade
FXCM
IC Markets Global
ACCM

เงินบาทแข็งค่าเท่าช่วงก่อนต้มยำกุ้งแล้ว น่ากังวลแค่ไหน?

WikiFX
| 2025-03-18 11:43

บทคัดย่อ:ก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ แต่หลังถูกโจมตีค่าเงิน ธปท. ประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อ 2 ก.ค. 1997 ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าหนัก ปัจจุบันดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าสูงสุดนับตั้งแต่ก่อนวิกฤต เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัว ราคาทองคำสูงขึ้น และเงินทุนไหลเข้า อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งกระทบความสามารถแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย เสี่ยงเข้าสู่ภาวะ "Dutch Disease" ที่ภาคบริการบูม แต่ภาคอุตสาหกรรมเสียเปรียบ

aw-05 (15).jpg

ย้อนกลับไปช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) โดยเงินบาทในช่วงนั้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ราว 24-26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

อย่างไรก็ตามหลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักจากกองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายครั้ง จนทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงจาก 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 2.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท กล่าวคือ เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ‘ลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ’ (Managed Float) แทน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1997 ทำให้ค่าเงินบาทหลังจากประกาศ อ่อนค่าลงอย่างหนัก จากราว 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแตะระดับอ่อนค่าสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราว 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

โดยหลังจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทครั้งนั้น เงินบาทไทย ‘ไม่เคย’ กลับไปแตะระดับ 24-26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอีกเลย

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งที่สุดนับตั้งแต่ปี 1997

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กลับตั้งข้อสังเกตว่า หากมาดูดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ซึ่งเป็นการเทียบค่าเงินบาทกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทย พบว่า ตอนนี้เงินบาทของไทย ‘แข็งเกือบเท่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง’ แล้ว

โดยตามข้อมูลของธปท. แสดงให้เห็นว่า ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 อยู่ที่ 128.30 ซึ่งถือเป็นระดับแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่มิถุนายนปี 1997 ซึ่งอยู่ที่ 135.4 โดยในเดือนดังกล่าวถือเป็นเดือนสุดท้าย ก่อนไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1997 เวลา 08.30 น.

เปิดสาเหตุ ทำไมเงินบาทไทยแข็งเมื่อเทียบกับเพื่อน

ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า โดยปกติแล้วเมื่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า สกุลเงินเอเชียต่างๆ มักจะอ่อนค่าตาม อย่างไรก็ตาม ดร.พิพัฒน์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (USD/THB) เริ่มฉีกออกจากดอลลาร์สหรัฐ (DXY) กล่าวคือเมื่อช่วงราว 6 เดือนที่ผ่านมา เมื่อดอลลาร์สหรัฐแข็ง แต่เงินบาทกลับนิ่งๆ หรือรักษาเสถียรภาพไว้ได้ดี เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

“โดยเฉพาะหลังโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เกิดการคาดการณ์มากขึ้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจไม่ต้องลดดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ดัชนีดอลลาร์ขึ้นไปแตะระดับ 109 ราวเดือนมกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เงิน USD/THB กลับมีเสถียรภาพ หรือไม่อ่อนตาม ขณะที่สกุลเงินเพื่อนกลับอ่อนค่าตามดอลลาร์ไปกันหมด” ดร.พิพัฒน์กล่าว

โดยสาเหตุหลักอาจมาจากช่วงไตรมาสที่ 4 ลากยาวมาถึงไตรมาสที่ 1 เป็นช่วง High Season ของภาคการท่องเที่ยวไทยทำให้มีความต้องการค่าเงินบาทมากขึ้น โดยภาคการท่องเที่ยวของไทยที่เริ่มฟื้นตัวกลับเป็นปกติมากขึ้น ทำให้ไทยเริ่มเกินดุลบัญชีเดินสะพัด หลังจากไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาค่อนข้างยาวในช่วงโควิด

นอกจากนี้ค่าเงินบาทมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองคำค่อนข้างสูง โดยสูงเป็นอันดับต้นของภูมิภาค กล่าวคือ เมื่อราคาทองคำเพิ่มขึ้นเงินบาทก็จะแข็งค่า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากคนไทยซื้อขายทองคำค่อนข้างเยอะและมีธุรกรรมเกี่ยวกับทองคำค่อนข้างมาก

อีกเหตุผลคือ มีส่วนที่อธิบายไม่ได้ในดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) กล่าวคือมีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศไทยที่หาคำอธิบายไม่ได้ว่ามาจากไหน มากขึ้น

ดัชนีเงินบาทแข็งมาก น่ากังวลหรือไม่?

ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า ในมุมหนึ่งการที่ดัชนีค่าเงินบาทกลับไปแข็งเท่าช่วงปี 1997 อาจไม่น่ากังวลเท่าไหร่ เนื่องจากสะท้อนให้เห็นว่า มีคนอยากเอาเงินบาทเข้าประเทศมากกว่าออกจากประเทศ

อย่างไรก็ตาม ดร.พิพัฒน์เตือนว่า ปัจจุบันไทยมีสินค้าหลายประเภทที่กำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยเคยทำได้ดีและจ้างงานคนค่อนข้างเยอะ กำลังถูกค่าเงินบาทที่แข็งซ้ำเติม

“นอกจากภาคอุตสาหกรรมกำลังเจอกับการแข่งขันจากภายนอก หลังหลายประเทศสามารถขายสินค้าบางอย่างได้ถูกกว่าไทย และการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปไปเป็นรถ EV ตอนนี้ดัชนีค่าเงินบาทที่กำลังแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ กำลังสะท้อนให้เห็นว่า วันนี้ ภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาไปด้วย”

แม้ดร.พิพัฒน์กล่าวย้ำว่า การแข็งค่าของเงินบาทย่อมมีภาคส่วนที่ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ แต่หากพิจารณาจากผลกระทบสุทธิต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ดร.พิพัฒน์เชื่อว่า บาทอ่อนดีกว่าบาทแข็ง เพราะว่า สุดท้ายไทยยังเป็นประเทศส่งออกสุทธิ ไทยยังเป็นประเทศที่รับรายได้จากการท่องเที่ยว ดังนั้นบาทอ่อนจะทำให้ไทยมีความสามารถด้านการแข่งขันด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีขึ้น

จับตา ไทยกำลังเจอ Dutch Disease

ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้เหมือนประเทศไทยกำลังเจอกับภาวะ ‘Dutch Disease’ ซึ่งเป็นอาการที่เนเธอร์แลนด์เคยเผชิญเมื่อช่วง 1960 หลังเจอแหล่งพลังงานจนทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถขายพลังงาน และนำเงินตราต่างประเทศกลับเข้าประเทศได้ค่อนข้างเยอะ ทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น และทำให้ภาคอุตสาหกรรมเสียความสามารถในการแข่งขันไป หมายความว่า การบูมใน Sector หนึ่งย่อมทำให้ Sector หนึ่งมีปัญหาได้

“วันนี้ ภาคการท่องเที่ยวกำลังสร้างรายได้จากต่างประเทศ ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวก็ทำให้ค่าเงินบาทแข็งด้วย จนทำให้กระทบความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมในประเทศ” ดร.พิพัฒน์กล่าว

ขอบคุณ THE STANDARD WEALTH

อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4

คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!

6661a857-cf08-4024-ac15-f322d5d289db.png

Forexข่าว ForexForex news

อ่านเพิ่มเติม

Close up With WikiFX บทสัมภาษณ์ : ทำความรู้จักโบรกเกอร์คุณภาพสูง

ในการสัมภาษณ์พิเศษกับ WikiFX แพลตฟอร์มข้อมูลโบรกเกอร์ระดับโลก Taurex เปิดเผยวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด และนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับประสบการณ์เทรดในไทยและมาเลเซีย พร้อมเน้นย้ำความมุ่งมั่นในความโปร่งใส การให้ความรู้ และการสนับสนุนเทรดเดอร์อย่างยั่งยืนผ่านแพลตฟอร์มที่ทันสมัยและโครงการความร่วมมือในท้องถิ่น

เป็นต้นฉบับ 2025-07-14 17:28

เทรดฟอเร็กซ์ คืออะไร? มือใหม่ควรรู้อะไรก่อนลงสนามจริง

บทความนี้แนะนำพื้นฐานการเทรดฟอเร็กซ์สำหรับมือใหม่ พร้อมข้อควรรู้ ความเสี่ยง และแนวทางเตรียมตัวก่อนเริ่มลงทุนจริงอย่างมีวินัยและปลอดภัย.

เป็นต้นฉบับ 2025-07-14 16:10

รีวิว Exness ปี2025 น่าใช้ไหม ? เจาะลึกทุกมุม พร้อมพาชมถึงสำนักงาน

รีวิวโบรกเกอร์

เป็นต้นฉบับ 2025-07-14 15:49

กิจกรรมสายเทรด! คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการเลือกโบรกเกอร์

กิจกรรม #ExpertReview จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับโบรกเกอร์ที่มีความเสี่ยงผ่านการโพสต์ในชุมชน WikiFX พร้อมแนบภาพหน้าจอข้อมูลโบรกเกอร์ และติดแฮชแท็กกิจกรรม เพื่อชิงรางวัลจากทางแพลตฟอร์ม ผู้เข้าร่วมต้องปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด รวมถึงการยืนยันตัวตนด้วยบัญชีเทรดจริง MT4/MT5 ในการรับรางวัล ทั้งนี้ WikiFX ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์กิจกรรมตามความเหมาะสม พร้อมมีมาตรการป้องกันการทุจริตอย่างชัดเจน เพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างยุติธรรม

เป็นต้นฉบับ 2025-07-14 12:17

WikiFX เอ็กซ์เพรส

Exness
EC Markets
TMGM
XM
FXTM
FOREX.com
AvaTrade
FXCM
IC Markets Global
ACCM

Wiki โบรกเกอร์

FXTM

FXTM

อยู่ในการกำกับดูแล
Exness

Exness

อยู่ในการกำกับดูแล
DBG Markets

DBG Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
XM

XM

อยู่ในการกำกับดูแล
CPT Markets

CPT Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
ATFX

ATFX

อยู่ในการกำกับดูแล
FXTM

FXTM

อยู่ในการกำกับดูแล
Exness

Exness

อยู่ในการกำกับดูแล
DBG Markets

DBG Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
XM

XM

อยู่ในการกำกับดูแล
CPT Markets

CPT Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
ATFX

ATFX

อยู่ในการกำกับดูแล

Wiki โบรกเกอร์

FXTM

FXTM

อยู่ในการกำกับดูแล
Exness

Exness

อยู่ในการกำกับดูแล
DBG Markets

DBG Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
XM

XM

อยู่ในการกำกับดูแล
CPT Markets

CPT Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
ATFX

ATFX

อยู่ในการกำกับดูแล
FXTM

FXTM

อยู่ในการกำกับดูแล
Exness

Exness

อยู่ในการกำกับดูแล
DBG Markets

DBG Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
XM

XM

อยู่ในการกำกับดูแล
CPT Markets

CPT Markets

อยู่ในการกำกับดูแล
ATFX

ATFX

อยู่ในการกำกับดูแล

ข่าวล่าสุด

เผยเคล็ดลับ! กฎเหล็ก 3 ข้อ ลงทุนสไตล์ ซีเค Fastwork

WikiFX
2025-07-14 12:44

เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้

WikiFX
2025-07-14 12:11

กิจกรรมสายเทรด! คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการเลือกโบรกเกอร์

WikiFX
2025-07-14 12:17

รีวิว Exness ปี2025 น่าใช้ไหม ? เจาะลึกทุกมุม พร้อมพาชมถึงสำนักงาน

WikiFX
2025-07-14 15:49

Close up With WikiFX บทสัมภาษณ์ : ทำความรู้จักโบรกเกอร์คุณภาพสูง

WikiFX
2025-07-14 17:28

เทรดฟอเร็กซ์ คืออะไร? มือใหม่ควรรู้อะไรก่อนลงสนามจริง

WikiFX
2025-07-14 16:10

คำนวณอัตราแลกเปลี่ยน

USD
CNY
อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้: 0

กรุณาใส่จำนวนเงิน

USD

จำนวนเงินที่สามารถแลกได้

CNY
เริ่มคำนวณ

คุณอาจจะชอบ

AthenaFX

AthenaFX

Fx Trader Global

Fx Trader Global

OCTAFX

OCTAFX

Outrade

Outrade

sesaFXCM

sesaFXCM

IC Markets Global

IC Markets Global

Block Option

Block Option

XIN YONGAN INTERNATIONAL

XIN YONGAN INTERNATIONAL

Margin FX

Margin FX

GDFXI

GDFXI