บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันพุธที่ 24 ม.ค. 2024
•21.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ (Flash Manufacturing PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 47.9 ตัวเลขคาดการณ์ 47.6
•21.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ (Flash Services PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 51.4 ตัวเลขคาดการณ์ 51.0
วันพฤหัสบดีที่ 25 ม.ค. 2024
•20.30 น. : ดัชนี GDP สหรัฐฯ (Advance GDP q/q)
ตัวเลขครั้งก่อน 4.9% ตัวเลขคาดการณ์ 2.0%
•20.30 น. : ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 187K ตัวเลขคาดการณ์ 199K
วันศุกร์ที่ 26 ม.ค. 2024
•20.30 น. : ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคลสหรัฐฯ (Core PCE Price Index m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.1% ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าลง หลังผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยเร็วและลึกของเฟด ส่วนนักลงทุนต่างชาติต่างเทขายสินทรัพย์ไทย
รอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ PCE และดัชนี PMI พร้อมเตรียมจับตาผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)
ปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ยังคงมีอยู่ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด จนทำให้ผู้เล่นในตลาด “เลิกเชื่อ” ว่าเฟดจะรีบลดดอกเบี้ย หรือผลการประชุม ECB และ BOJ ชี้ว่าทั้งสองธนาคารกลางหลักอาจมีแนวโน้มนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายกว่าเฟด ในส่วนของค่าเงินบาท การอ่อนค่าอาจชะลอลงบ้าง หลังผู้เล่นในตลาดได้ทยอยลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟดในเดือนมีนาคมไปพอสมควร ทว่า เงินบาทยังมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าต่อได้ หากนักลงทุนต่างชาติเดินหน้าเทขายสินทรัพย์ไทยต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ หลังราคาทองคำมีแนวโน้มรีบาวด์ขึ้นจากโซนแนวรับ ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของทองคำ ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่าหรือช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ โดย S&P (Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนมกราคม รวมถึงคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ครั้งแรก และไฮไลท์สำคัญ อย่าง รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดจับตา โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงออกมาดีกว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงสดใส ก็จะยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาด “เลิกเชื่อ” ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยได้ “เร็วและลึก” โดยล่าสุดจาก CME FedWatch Tool ตลาดให้โอกาสเพียง 49% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม ซึ่งหากโอกาสดังกล่าวลดลงต่อเนื่อง จะยิ่งหนุนให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น
2. ฝั่งยุโรป – บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของอังกฤษ และยูโรโซน ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของอังกฤษ และยูโรโซน รวมถึง รายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (IFO Business Climate) โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของฝั่งยูโรโซน ไม่ได้ออกมาแย่กว่าคาด หรือ สะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวลงที่มากขึ้นชัดเจนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เราคาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) ไว้ที่ระดับ 4.00% และอาจส่งสัญญาณย้ำจุดยืนว่า ECB จะไม่รีบลดดอกเบี้ย ตามที่ตลาดกำลังคาดหวัง จนกว่า ECB จะมั่นใจว่าสามารถคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ ซึ่งภาพดังกล่าวอาจช่วยลดทอนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเงินเงินยูโร (EUR) หรือช่วยให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นได้บ้าง อย่างไรก็ดี หากผู้เล่นในตลาดตีความว่า ECB ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้น ต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ย ก็อาจยิ่งกดดันให้เงินยูโรผันผวนอ่อนค่าลงได้ไม่ยาก
3. ฝั่งเอเชีย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยเราคาดว่า BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% พร้อมยังไม่เปลี่ยนแปลงมาตรการ Yield Curve Control อย่างไรก็ดี เราจะจับตาว่า มุมมองของ BOJ ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง หรือ BOJ มีการส่งสัญญาณต่อโอกาสในการปรับใช้นโยบายการเงินให้เข้มงวดมากขึ้นหรือไม่ เพราะหาก BOJ ยังไม่มีการส่งสัญญาณดังกล่าว หรือ แสดงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ BOJ ก็อาจกดดันให้ ค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ผันผวนอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากระดับ 148 เยนต่อดอลลาร์ได้ ทั้งนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นและแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของ BOJ จากรายงานยอดการส่งออกรวมถึงรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการล่าสุด
4. ฝั่งไทย – บรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยยอดการส่งออก (Exports) อาจโตได้ราว +5.9%y/y หนุนโดยการกลับมาเป็นขาขึ้นของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และ Semiconductor รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ยังไปได้ดี ส่วนยอดการนำเข้า (Imports) จะขยายตัว +7%y/y ตามการฟื้นตัวของการส่งออกเป็นหลัก
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
EC Markets
Vantage
Tickmill
Neex
VT Markets
FP Markets
EC Markets
Vantage
Tickmill
Neex
VT Markets
FP Markets
EC Markets
Vantage
Tickmill
Neex
VT Markets
FP Markets
EC Markets
Vantage
Tickmill
Neex
VT Markets
FP Markets