บทคัดย่อ:KBank เปิดตัว Orbix ชนเว็บเทรดคริปโตฯ ชูจุดเด่นบริการ ‘มาตรฐานธนาคาร’
นอกจากความร้อนแรงของตลาดคริปโตเคอร์เรนซีแล้ว การแข่งขันของธุรกิจศูนย์ซื้อขาย หรือกระดานเทรด ก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน
เดิมในไทยมี ‘บิทคับ’ (Bitkub) เป็นกระดานซื้อขายเบอร์ 1 แต่เมื่อไม่นานมานี้กลุ่มทุนใหญ่ของประเทศ ‘กัลฟ์’ (Gulf) ก็ประกาศจับมือกับกระดานเทรดเบอร์ 1 ของโลก ‘ไบแนนซ์’ (Binance) เปิดให้บริการ Gulf Binance อย่างเป็นทางการ
ขณะที่กระดานเทรดคริปโตฯ แห่งแรกของไทยอย่าง ‘สตางค์’ (Satang) วันนี้รีแบรนด์ใหม่เป็น ‘ออร์บิกซ์’ (Orbix) ภายใต้ร่มของธนาคารกสิกรไทย (KBank) พร้อมกลับมาแข่งขันแล้ว
TODAY Bizview มีโอกาสพูดคุยกับ ‘ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์’ ประธานกรรมการ และ ‘ชาญวิทย์ รุ่งเรืองลดา’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์บิกซ์ เทรด จำกัด ถึงการกลับมาในครั้งนี้
[ จุดเด่น ‘เชื่อถือได้’ และ ‘ใช้งานง่าย’ ]
ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด Orbix กลับมั่นใจว่า บริษัทฯ จะสามารถขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้ โดยเฉพาะคนที่อาจจะยังไม่กล้าเข้ามาในตลาดคริปโตฯ ด้วยคุณค่าที่มอบให้แก่ลูกค้า (Value Proposition) ซึ่งอยู่บนหลัก ‘เชื่อถือได้’ (Trustworthy) และ ‘ใช้งานง่าย’ (Easy)
สำหรับ Trustworthy บริษัทฯ อยากเป็นกระดานเทรดที่มีความน่าเชื่อถือที่ลูกค้าเชื่อมั่น เพราะ Orbix อยู่ในธุรกิจการเงิน (เป็นลูกของ KBank) จึงเป็นภาพลักษณ์ที่น่าจะเหมาะกับบริษัทฯ
โดยบริษัทฯ เชื่อว่า ลูกค้าที่ต้องการ Trustworthy ยังมีอยู่ และเขาไม่ใช่กลุ่มคนแรกๆ (Early Adopter) ที่มาในตลาดก่อนแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะไม้ใหญ่กว่า เงินเยอะหน่อย แต่แบ่งเงินจำนวนหนึ่งมาลงทุน เป็นกลุ่มคนที่มาใหม่ เป็นนักลงทุนระยะยาวหน่อย เป็นต้น
ส่วน Easy หมายถึง ประสบการณ์การใช้งาน ประสบการณ์การใช้บริการ ที่พยายามทำให้ใช้ง่าย ใช้แล้วไม่ติดขัด ซึ่งตอนนี้ได้นักออกแบบ UX/UI จากทาง Beacon Interface ในเครือ KBank เข้ามาช่วยดีไซน์ ซึ่งเป็นทีมเดียวที่ดีไซน์ให้โมบายแบงกิ้ง K Plus ของธนาคารกสิกรไทยด้วย
‘เชื่อว่ากลุ่มลูกค้าที่น่าจะสนใจในเรื่องของ Trustworthy กับ Easy น่าจะเป็นคนละกลุ่มกับลูกค้าที่ลงทุนในเจ้าตลาด โดยเท่าที่รีเสิร์ชมา ลูกค้าเป็นนักลงทุนอยู่แล้ว แต่ยังขาดความมั่นใจที่จะแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาลงทุน จะลงทุนกับใครดี’
[ ลูกค้ามั่นใจ ไม่ปิด ไม่หนี ไม่หาย ]
แน่นอนว่าเรื่องของการลงทุนเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล นักลงทุนสามารถรับความผันผวนของราคาได้ ลงทุนกำไรมากหรือน้อย รับได้ แต่ความเสี่ยงที่รับไม่ได้คือ ผู้ให้บริการ (Operator/Service Provider) หายไป ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
ลูกค้าจำนวนมากที่ไปเจอ ที่ยังไม่กล้าลงทุน ไม่ใช่ว่ารับความผันผวนของสินทรัพย์ไม่ได้ แต่ไม่มั่นใจว่า กำไรมีอยู่จริงหรือไม่ Operator จะหายหรือเปล่า ทำให้เขาลังเล
‘ที่บอกว่า รายได้เราจะเป็น 1 ใน 3 ไม่ได้แปลว่า เราจำเป็นต้องไปแย่งกับคนอื่น มันมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เขารอจะเข้า (ตลาด) แต่อาจจะไม่ใช่ผู้รับความเสี่ยง (Risk Taker) หรือ Early Adopter แต่กำลังรอผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ (Trustable Service Provider)’
ลูกค้าอาจจะไม่ใช่คนเทรดไม้เล็กๆ ทุกวัน อย่างคนรวย หรือ Private Bank Customer คนเหล่านี้จะให้คุณค่า (Value) ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ เหมือนกับการซื้อเสื้อผ้า ลูกค้าจะซื้อที่ไหนก็ได้ ของก็ส่วนของ แต่ลูกค้าจะเลือกซื้อจากร้านไหน แน่นอนว่าต้องเลือกร้านที่ตอบโจทย์แต่ละคนที่แตกต่างกัน
[ ให้บริการด้วยเกรดเดียวกับธนาคาร ]
ปัจจุบัน Orbix อยู่ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่บังเอิญเป็นบริษัทลูกของธนาคาร (KBank) จึงอยู่ใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีกทีหนึ่ง
สิ่งที่กว่าจะเดินมาถึงวันนี้ แปลว่าเราต้องยกระดับการกำกับดูแล กระบวนการทั้งหลาย ทุกอย่างเป็น Bank Grade มันจะมีหลายด้าน ทั้งกระบวนการด้านเทคโนโลยี กระบวนการดูแล ซึ่งพออยู่ใต้กำกับของ ธปท. มันจะเข้มข้นกว่า เราต้องยกระดับบริษัทล่วงหน้าก่อนเข้าซื้อพอสมควร เพื่อจะให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการเหล่านี้เป็น Bank Grade
‘สิ่งนี้ลูกค้าไม่เห็นหรอก แต่เป็นสิ่งที่เราทำ เหมือนเวลาเราไปร้านอาหารในต่างประเทศ มันจะมีบางคนที่ดูว่า ร้านนี้มีการให้คะแนนความสะอาด A B C ซึ่งบางคนก็ดู บางคนก็ไม่ดู’
Orbix คงไม่สามารถเป็นทุกๆ อย่างให้กับทุกๆ คนได้ แต่บริษัทฯ เลือกเฉพาะคนที่เขาเป็นลูกค้า และต้องการสิ่งเหล่านี้ Orbix ก็ทำสิ่งนี้ให้ได้ดี และเชื่อว่าคนเหล่านี้กำลังค่อยๆ เข้ามาเพิ่มขึ้น
[ ตั้งเป้าเป็นท็อป 3 ของประเทศไทย ]
ทั้ง 2 ประเมินว่า ด้วยศักยภาพที่มีจะช่วยให้บริษัทฯ ขึ้นมาเป็นท็อป 3 ของตลาดเว็บเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลในทุกมิติภายใน 3 ปีต่อจากนี้ จากปัจจุบันอยู่ในอันดับ 6 ทั้งในแง่ของฐานลูกค้า เอนเกจเมนต์ แบรนด์ดิ้ง วอลุ่มการซื้อขาย ฯลฯ ซึ่งในบางมิติ เชื่อว่าสามารถทำได้ดีกว่านั้น
ขณะที่เป้าหมายระยะสั้นในปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 6 เท่า จากภาวะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่คึกคัก โดยในปีที่ผ่านมา (2566) รายได้อยู่ที่ 20-26 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเติบโตแตะ 160-170 ล้านบาท
ในส่วนของยอดผู้ใช้งาน (User) คาดว่าจะเติบโต 10 เท่า (Daily Active User) จากฐานลูกค้าเดิมที่ลงทะเบียนกับบริษัทฯ อยู่แล้วราว 500,000 ราย นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าหมายเพิ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 10-15%
โดยรายได้มาจาก 2 ส่วน คือ ฐานลูกค้าเดิม โดยมีการกลับไป Re-engage กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ากลับมา Active กับบริษัทฯ อีกส่วนจะมาจากลูกค้าใหม่ ขณะที่ Daily Active User ปัจจุบันจะอยู่ที่ 500-600 รายต่อวัน โดยตั้งเป้าหมายขยับขึ้นไปราว 5,000-6,000 ต่อวัน
ขณะที่วอลุ่มการซื้อขาย ในเดือน มี.ค.คาดว่าจะปิดเดือนที่ 2.3-2.5 เท่าก่อนเข้าซื้อกิจการ
[ ปัจจัยสนับสนุนตลาดคริปโตในปีนี้ ]
สำหรับตลาดคริปโตฯ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่า ราคาเหรียญหลักอย่าง ‘บิตคอยน์’ (Bitcoin) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยทำจุดพีกที่ราว 73,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 2.6 ล้านบาท ซึ่งปัจจัยหนุนมาจาก
การอนุมัติกองทุนบิตคอยน์ (Bitcoin Spot ETF) โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สหรัฐ ซึ่งส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะการอนุมัติ ETF เปรียบเสมือนการเปิดประตูให้นักลงทุนในโลกเดิม เข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน ส่งผลให้มีการเก็งว่าจะมีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้ามามหาศาล หนุนให้ตลาดเติบโตขึ้น
ปรากฏการลดปริมาณบิตคอยน์ (Bitcoin Halving) ในเดือน เม.ย.นี้ ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรในตลาด เพราะด้วยหลักเศรษฐศาสตร์ของเหรียญ ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้มูลค่าบิตคอยน์เพิ่มขึ้น
ก.ล.ต.สหรัฐเตรียมอนุมัติกองทุนคริปโตฯ เหรียญอื่นๆ ในช่วงไตรมาส 2 ที่จะถึงนี้ด้วย โดยคาดว่าเหรียญที่จะได้รับการอนุมัติ คือ อีเธอเรียม (ETH) ซึ่งต้องรอติดตาม
[ ไทยอยากเป็นฮับสินทรัพย์ดิจิทัล ]
ขณะที่ประเทศไทย นโยบายเศรษฐกิจก็มีส่วนสนับสนุน เช่น นโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฮับด้านสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Hub) โดยนโยบายนี้เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นผ่าน 2 นโยบายย่อย ได้แก่
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีที่การซื้อขายนั้นเกิดขึ้นในกระดานซื้อขาย (Exchange) นายหน้าซื้อขาย (Dealer/Broker) ที่ได้รับใบอนุญาตจะ ก.ล.ต.ประเทศไทย
จากเดิมยกเว้นเป็นการชั่วคราวเฉพาะศูนย์ซื้อขาย แต่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีการขยายประเภท และทำให้มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการถาวร เพื่อส่งสัญญาณว่า ภาครัฐก็ให้การสนับสนุน
นอกจากนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ล.ต.ก็มีการอนุมัติ เห็นชอบให้มีการปรับหลักเกณฑ์เพื่อให้ลูกค้ารายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth: UHNW) และลูกค้าสถาบัน (Institutional Investor: II) สามารถลงทุนใน Spot Bitcoin ETF ผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ได้ตามเงื่อนไขที่จะประกาศออกมา
‘2 เรื่องนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่า ในประเทศไทยเองเนี่ย เราเริ่มเห็นการสนับสนุนในเชิงนโยบาย ในเชิงของมารตรการต่างๆ ที่จะออกมา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือ Ecosystem นี้มากขึ้น’
[ โครงสร้าง Obrbix ในปัจจุบัน ]
สำหรับสัดส่วนการถือหุ้น ปัจจุบัน KBank ถือหุ้นผ่าน ‘ยูนิต้า แคปิทัล’ (Unita Capital) 100% ซึ่งเป็นเหมือนกับกลุ่มบริษัท (Holding Company) และภายใต้กลุ่มบริษัทนี้จะประกอบไปด้วยบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ (Operating Company) ได้แก่
ออร์บิกซ์ เทรด (Orbix Trade)
ออร์บิกซ์ อินเวสท์ (Orbix Invest)
ออร์บิกซ์ คัสโทเดียน (Orbix Custodian)
ออร์บิกซ์ เทค (Orbix Tech)
ออร์บิกซ์ โบรกเกอร์ (Orbix Broker)
คิวบิกซ์ (Kubix)
ขอบคุณ สำนักข่าวทูเดย์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
แนะนำฟีเจอร์ WikiFX
5 อุปสรรคยอดฮิต ที่นักเทรดตัวจริงต้องรู้ 1. นิสัยการผัดวันประกันพรุ่ง 2. สิ่งรบกวนการโฟกัส 3. การอยู่แต่ใน comfort zone 4. ขาดแรงบันดาลใจ 5. รับมือกับคนพลังลบไม่เป็น
รวบบัญชีม้ามิจฉาชีพชักชวนหลอกลงทุนทำกิจกรรม ต่อมาผู้เสียหายจะถอนเงินทุนและกำไร ถูกบ่ายเบี่ยงไม่สามารถติดต่อได้
บทวิเคราะห์บิตคอยน์
ATFX
GO MARKETS
FXTM
FxPro
Vantage
Pepperstone
ATFX
GO MARKETS
FXTM
FxPro
Vantage
Pepperstone
ATFX
GO MARKETS
FXTM
FxPro
Vantage
Pepperstone
ATFX
GO MARKETS
FXTM
FxPro
Vantage
Pepperstone