บทคัดย่อ: ปธ.เฟดแอตแลนตาส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ยสูงนานขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
นายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา กล่าวในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นที่บัณฑิตวิทยาลัยธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford Graduate School of Business) เมื่อวานนี้ (23 พ.ค.) ว่า นโยบายการเงินของเฟดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพน้อยลงในการทำให้เศรษฐกิจคลายความร้อนแรงเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา พร้อมกับเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นายบอสติกได้แสดงความพอใจที่เงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มชะลอตัวลงหลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรก แต่เขามองว่าแนวโน้มที่เงินเฟ้อจะชะลอตัวลงจนแตะเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% นั้น ยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า พร้อมกับกล่าวว่า เฟดควรรอเวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าเงินเฟ้อกำลังอยู่ในทิศทางขาลง ก่อนที่จะตัดสินใจเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
การแสดงความเห็นของนายบอสติกถือเป็นการส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดรายอื่น ๆ โดยนายฟิลิป เจฟเฟอร์สัน รองประธานเฟดกล่าวในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมธนาคารเพื่อการกู้จำนอง (Mortgage Bankers Association) ในรัฐนิวยอร์กเมื่อวันที่ 20 พ.ค. ว่า เขาไม่สามารถบอกได้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐจะชะลอตัวลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% แม้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.จะออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ก็ตาม พร้อมกับแนะนำให้เฟดดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบระมัดระวัง
ขณะที่นายไมเคิล บาร์ รองประธานเฟดฝ่ายกำกับดูแลกล่าวในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นโดยเฟดสาขาแอตแลนตาว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่มีการเปิดเผยในไตรมาส 1 ปีนี้ ไม่ได้ทำให้เขามีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าเฟดควรจะเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงิน พร้อมกับแนะนำให้เฟดใช้เวลามากขึ้นจนกกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%
ทางด้านนางลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์กเมื่อวานนี้ว่า การที่เงินเฟ้อชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อยในไตรมาส 1 ปีนี้ รวมทั้งเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด ทำให้เธอคิดว่าเฟดควรจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น
ทั้งนี้ การประชุมครั้งต่อไปของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟ (FOMC) จะมีขึ้นในวันที่ 11 – 12 มิ.ย.
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
บทความนี้สำรวจ 5 ประเทศที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินตราระดับโลก ได้แก่: สหราชอาณาจักร (ลอนดอน) – ศูนย์กลางอันดับหนึ่งของโลก มีสภาพคล่องสูงสุดเพราะเชื่อมโยงตลาดเอเชียและอเมริกา สหรัฐอเมริกา (นิวยอร์ก) – ฐานหลักของดอลลาร์สหรัฐ และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ สิงคโปร์ – ศูนย์กลางการเงินของเอเชีย และประตูสู่ตลาดเอเชียแปซิฟิก ฮ่องกง – เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีน และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินหยวนนอกประเทศจีน ญี่ปุ่น (โตเกียว) – ฐานหลักของเงินเยน และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น การเข้าใจโครงสร้างและลักษณะเฉพาะของตลาดเหล่านี้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและวางกลยุทธ์การซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรมสรรพากรสหรัฐฯ เลิกจ้างพนักงานราว 6,000 ตำแหน่งตามนโยบายทรัมป์
บทวิเคราะห์ทองคำ
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก