บทคัดย่อ:บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพรวมภาวะการเงินของโลก จากนักเศรษฐศาสตร์
ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Morning Wealth ว่าภาพรวมภาวะการเงินของโลกที่ผ่านมาเริ่มผ่อนคลายลงไปค่อนข้างมาก หลังจากธนาคารกลางหลักของโลกเริ่มทยอยปรับลด ดอกเบี้ย ลง ทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) รวมถึงล่าสุดที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมรอบล่าสุดเมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อทยอยปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ หากมองไประยะข้างหน้า ธนาคารกลางหลักทั่วโลกมีโอกาสที่จะลด ดอกเบี้ย ลงต่อเนื่อง โดยประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ Fed จะมีการประชุมอีกจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งมีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.50% ขณะที่ในปีหน้าคาดว่ามีโอกาสจะลดลงประมาณ 1% หลังจากที่แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มมีแนวโน้มที่น่ากังวลเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ประเมินว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะยังไม่เข้าสู่ภาวะ Hard Landing ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว จึงมองว่าในระยะข้างหน้านโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกยังมีทิศทางปรับอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่าในปีหน้าทั้ง ECB และ BOE จะมีการลดดอกเบี้ยลงตามได้อีกประมาณ 1%
นอกจากนี้ ในมิติของกฎเกณฑ์การพิจารณาในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทั่วโลกเริ่มลดความเข้มงวดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ภาวะทางการเงินของโลกเริ่มผ่อนคลายลงด้วยอย่างชัดเจน
ไทยเผชิญภาวะการเงินตึงตัว สินเชื่อหดตัวทุกประเภท
สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในปัญหาภาวะการเงินตึงตัวในระดับที่สูง เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในระยะสั้นยังไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการลดดอกเบี้ยลง
จึงประเมินว่า ภาวะทางการเงินหรือตลาดทางการเงินของไทยจะตึงตัวต่อเนื่อง ทั้งภาวะการตึงตัวทางการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนได้จากทิศทางค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วในภูมิภาค จนทำให้ ธปท. เข้าดูแลค่าเงินบาท
รวมถึงภาวะการตึงตัวจากในประเทศ จากข้อมูลการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินปัจจุบันยังมีความเข้มงวดขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนจากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อไตรมาส 2/67 ของระบบสถาบันการเงินที่หดตัวลงเกือบทุกประเภท ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อเช่าซื้อ, สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล อีกทั้งคุณภาพของสินเชื่อมีแนวโน้มที่ถดถอยและลดลงค่อนข้างมาก
ดร.ปุณยวัจน์ กล่าวต่อว่า ภาวะทางการเงินกับภาพรวมเศรษฐกิจถือว่ามีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง ทั้งนี้หากภาคการเงินมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกกระทบ จะมีผลกระทบต่อเนื่องตามมาต่อภาคเศรษฐกิจจริง รวมทั้งเกิดภาวะตัวเร่งทางการเงิน (Financial Accelerator) อีกด้วย
หนี้ครัวเรือนลดต่ำกว่า 90% เหตุแบงก์ไม่กล้าปล่อยกู้
สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย ล่าสุดในไตรมาส 2/67 ที่รายงานว่ามีสัดส่วนลดลงมาต่ำกว่า 90% ต่อ GDP เป็นครั้งแรก หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิดเป็นต้นมา ซึ่งหากมองผิวเผินอาจเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเจาะข้อมูลเข้าไปไส้ในของตัวเลขที่ลดลงดังกล่าว จะเห็นว่าเกิดจากการเติบโตของหนี้ที่ขยายตัวค่อนข้างต่ำ โดยการปล่อยสินเชื่อการเติบโตเพียง 1.3% ถือเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์
ทั้งนี้ มองว่าการปรับตัวลดลงของหนี้ครัวเรือนที่รวดเร็วเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน เพราะมาจากผลกระทบที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้หรือคนไม่สามารถกู้เงินได้ ดังนั้นการลดลงของหนี้ครัวเรือนครั้งนี้จึงยังไม่ใช่การลดลงของหนี้ครัวเรือนที่แข็งแรง
ดร.ปุณยวัจน์ กล่าวด้วยว่า การลดลงของสินเชื่อดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงผ่านภาคการบริโภคให้มีทิศทางปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการบริโภคกลุ่มที่อยู่อาศัย รถยนต์ รวมถึงสิ่งของสินค้าต่างๆ ที่ต้องพึ่งพิงการใช้จากแหล่งเงินที่มาจากการขอสินเชื่อ อีกทั้งจะทำให้แนวโน้มภาคการลงทุนในระยะต่อไปปรับตัวลดลงตามไปด้วย
จับตาปลายปีนี้แบงก์ชาติเริ่มหั่นดอกเบี้ย
สำหรับทิศทางดอกเบี้ยของ ธปท. ที่เหลือการประชุมอีก 2 ครั้งในปีนี้ คือวันที่ 16 ตุลาคม และวันที่ 18 ธันวาคม ทาง SCB EIC มองว่าภาคการเงินของไทยโดยเฉพาะภาคครัวเรือนมีความเปราะบางและยังมีปัญหาภาวะความตึงตัวในภาคการเงิน ซึ่งทำให้ ธปท. เริ่มให้ความสำคัญในประเด็นปัญหานี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการนำประเด็นภาวะทางการเงินที่ตึงตัวมาหารือในที่ประชุม
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่า ในการประชุมของ กนง. ปลายปีนี้ในวันที่ 16 ตุลาคม จะมีมติให้คงดอกเบี้ยที่ 2.50% พร้อมทั้งคาดว่า กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยและมีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยลงในช่วงต้นปี 2568 มาอยู่ที่ระดับ 2% โดยคาดว่าน่าจะเป็นระดับดอกเบี้ยที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ภาวะทางการเงินของไทยผ่อนคลายลงได้บ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
VT Markets
GO MARKETS
Octa
IC Markets Global
ATFX
Vantage
VT Markets
GO MARKETS
Octa
IC Markets Global
ATFX
Vantage
VT Markets
GO MARKETS
Octa
IC Markets Global
ATFX
Vantage
VT Markets
GO MARKETS
Octa
IC Markets Global
ATFX
Vantage