บทคัดย่อ:บทความนี้นำเสนอการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโบรกเกอร์ Forex ประเภท A-Book และ B-Book เพื่อให้นักเทรดมีความรู้เพียงพอในการตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อการเทรดโดยตรง A-Book ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดจริงด้วยระบบ Non-Dealing Desk ทำให้มีความโปร่งใสและสภาพคล่องสูง ขณะที่ B-Book ดำเนินการซื้อขายภายในระบบของตนเอง มีความเสี่ยงเรื่องความโปร่งใสและสภาพคล่องต่ำกว่า การเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะสมจึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติเสริม เช่น ค่าคอมมิชชั่น การฝากถอน และการได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เชื่อถือได้ บทความเน้นย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาโบรกเกอร์อย่างรอบคอบเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโกงในตลาด Forex
สวัสดีครับ แอดเหยี่ยวจะพานักเทรดมาเจาะลึกเรื่องโบรกเกอร์ประเภท A-Book และ B-Book ให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อให้นักเทรดมีความรู้เพียงพอในการตัดสินใจ และไม่หลงเชื่อคำพูดใครง่าย ๆ เพราะการเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่อาจส่งผลต่อผลการเทรดของเราโดยตรง
การทำความเข้าใจว่า A-Book และ B-Book คืออะไร มีวิธีการทำงานอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างไร จะช่วยให้นักเทรดมองเห็นภาพรวมของการดำเนินงานของโบรกเกอร์ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งนั่นจะนำไปสู่การเลือกใช้บริการโบรกเกอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการและแนวทางการเทรดของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น อย่าพลาดบทความนี้นะครับ แล้วมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กับแอดเหยี่ยวกัน!
A-Book และ B-Book คือการแบ่งประเภทการส่งคำสั่งซื้อขายของโบรกเกอร์ โดยแบ่งเป็นสองรูปแบบที่มีแนวทางการทำงานแตกต่างกัน
A-Book คืออะไร?โบรกเกอร์ A-Book ส่งคำสั่งซื้อขายของนักเทรดตรงไปยังตลาดจริง โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง เรียกว่าระบบ Non-Dealing Desk ซึ่งมีลักษณะการดำเนินการแบบ STP (Straight Through Processing) กล่าวคือ โบรกเกอร์ A-Book จะทำหน้าที่เพียงเชื่อมโยงคำสั่งซื้อขายของนักเทรดกับตลาดหรือสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ทำให้ราคาที่เสนอมีความแม่นยำและสภาพคล่องสูง
รายได้ของโบรกเกอร์ A-Book มาจากค่าคอมมิชชั่น เช่น ค่า Spread หรือค่า Swap ซึ่งหมายความว่าผลกำไรหรือขาดทุนของนักเทรดจะไม่ส่งผลต่อรายได้ของโบรกเกอร์ และเนื่องจากข้อมูลราคาถูกนำมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ทำให้ไม่สามารถปรับแต่งกราฟราคาได้ นักเทรดที่เลือกใช้ A-Book จะได้รับประสบการณ์การซื้อขายที่โปร่งใสกว่า
B-Book คืออะไร?ในขณะที่โบรกเกอร์ B-Book จะไม่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดจริง แต่จะดำเนินการซื้อขายภายในระบบของตนเอง ซึ่งหมายความว่าโบรกเกอร์สามารถสร้างกราฟและกำหนดราคาขึ้นเองได้ การที่ผลกำไรและขาดทุนของนักเทรดมีผลต่อรายได้ของโบรกเกอร์ B-Book ทำให้โบรกเกอร์ประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงเรื่องความโปร่งใส เนื่องจากมีโอกาสที่โบรกเกอร์จะใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในการปรับแต่งข้อมูลการซื้อขาย
ด้วยความที่โบรกเกอร์ B-Book มีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า และอาจมีช่องทางในการโกงหรือเชิดเงิน จึงทำให้นักเทรดหลายคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการใช้งานโบรกเกอร์ประเภทนี้
A-Book และ B-Book แบบไหนดีกว่ากัน?ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าโบรกเกอร์ประเภทใดดีกว่า เพราะทั้ง A-Book และ B-Book มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน โบรกเกอร์ A-Book มักจะมีสภาพคล่องสูงและให้ความโปร่งใสในการเทรด เนื่องจากคำสั่งส่งไปยังตลาดโดยตรง ขณะที่ B-Book ที่มีขนาดใหญ่หรือได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน (Liquid Provider) ก็สามารถให้บริการได้ดีไม่แพ้ A-Book เช่นกัน
การเลือกโบรกเกอร์จึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ค่าคอมมิชชั่นต่ำ, การฝากถอนที่รวดเร็ว, การเทรดที่ไม่มีปัญหากราฟค้าง, การเปิดออเดอร์ได้อย่างราบรื่น และที่สำคัญที่สุดคือการมีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ
สรุปได้ว่า A-Book และ B-Book เป็นเพียงลักษณะการส่งคำสั่งซื้อขายที่แตกต่างกัน การเลือกใช้งานจึงขึ้นอยู่กับความต้องการและการประเมินความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ที่นักเทรดสนใจ แอดเหยี่ยวขอแนะนำว่าควรศึกษารายละเอียดของโบรกเกอร์อย่างรอบคอบ เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโกงในตลาด Forex ที่ยังมีโบรกเกอร์เถื่อนอยู่มาก และควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานสากลเพื่อความปลอดภัยครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก fxbrokerscam
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
บทความนี้สำรวจ 5 ประเทศที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินตราระดับโลก ได้แก่: สหราชอาณาจักร (ลอนดอน) – ศูนย์กลางอันดับหนึ่งของโลก มีสภาพคล่องสูงสุดเพราะเชื่อมโยงตลาดเอเชียและอเมริกา สหรัฐอเมริกา (นิวยอร์ก) – ฐานหลักของดอลลาร์สหรัฐ และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ สิงคโปร์ – ศูนย์กลางการเงินของเอเชีย และประตูสู่ตลาดเอเชียแปซิฟิก ฮ่องกง – เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีน และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินหยวนนอกประเทศจีน ญี่ปุ่น (โตเกียว) – ฐานหลักของเงินเยน และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น การเข้าใจโครงสร้างและลักษณะเฉพาะของตลาดเหล่านี้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและวางกลยุทธ์การซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรมสรรพากรสหรัฐฯ เลิกจ้างพนักงานราว 6,000 ตำแหน่งตามนโยบายทรัมป์
บทวิเคราะห์ทองคำ
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก