เหตุการณ์และตัวเลขเศรษฐกิจน่าติดตาม
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต (ธ.ค.) ตัวเลขคาดการ์ณ 49.4 ตัวเลขครั้งก่อน 49.7
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ (ธ.ค.) ตัวเลขคาดการ์ณ 55.7 ตัวเลขครั้งก่อน 56.1
วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567
- ดัชนียอดขายปลีกพื้นฐาน (Core Retail Sales) (เดือนต่อเดือน) (พ.ย.) ตัวเลขคาดการ์ณ 0.4% ตัวเลขครั้งก่อน 0.1%
- ดัชนียอดขายปลีก (เดือนต่อเดือน) (พ.ย.) ตัวเลขคาดการ์ณ 0.6% ตัวเลขครั้งก่อน 0.4%
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567
- การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ตัวเลขคาดการ์ณ 4.50% ตัวเลขครั้งก่อน 4.75%
- การคาดการณ์เศรษฐกิจของคณะกรรมการนโยบายธนาคารกลางแห่งสหรัฐ
- แถลงการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ
- การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐ
- ดัชนีจีดีพี (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 3) ตัวเลขคาดการ์ณ 2.8% ตัวเลขครั้งก่อน 3.0%
- จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ตัวเลขคาดการ์ณ 245K ตัวเลขครั้งก่อน 242K
วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567
- ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) (เดือนต่อเดือน) (พ.ย.) ตัวเลขคาดการ์ณ 0.2% ตัวเลขครั้งก่อน 0.3%
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
- ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุม FOMC ของเฟด ซึ่งเราคาดว่า เฟดจะลดดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 4.25%-4.50% ทว่า เฟดอาจส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ย ผ่านคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยเฟด (Dot Plot) ใหม่ที่อาจสะท้อนว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยลงราว 3-4 ครั้งในปีหน้า และเฟดอาจจบรอบการลดดอกเบี้ย (Terminal Rate) ที่ระดับสูงกว่าราว 3.00% ที่เฟดได้ประเมินไว้ในการประชุมเดือนกันยายน สอดคล้องกับการปรับคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ (Summary of Economic Projections หรือ SEP) ที่อาจดีขึ้นเมื่อเทียบกับ SEP ในการประชุมเดือนกันยายน และนอกเหนือจากคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและดอกเบี้ยนโยบายใหม่ของเฟด บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของประธานเฟดในช่วง Press Conference อย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟด ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (S&P Manufacturing & Services PMIs) เดือนธันวาคม ยอดค้าปลีก (Retail Sales) และอัตราเงินเฟ้อ PCE (ที่เฟดติดตามอย่างใกล้ชิด) ในเดือนพฤศจิกายน
- ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) โดยเราคาดว่า BOE อาจคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.75% ทว่า BOE อาจส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าทยอยลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปี 2025 (เราคาดว่า BOE อาจลดดอกเบี้ยราว 4 ครั้ง หรือ 100bps ในปีหน้า) ตามแนวโน้มการทยอยกลับสู่เป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันภาพรวมเศรษฐกิจอังกฤษก็มีแนวโน้มชะลอลง นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินภาพเศรษฐกิจอังกฤษ ผ่านรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการในเดือนธันวาคม รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนพฤศจิกายน และรายงานข้อมูลตลาดแรงงานในเดือนตุลาคม ส่วนทางฝั่งยูโรโซน ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) พร้อมทั้งรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ
- ฝั่งเอเชีย – ประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แม้ว่าในการประชุมครั้งนี้ เราคาดว่า BOJ จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.25% ตามเดิม ทว่าควรจับตาอย่างใกล้ชิดถึงการส่งสัญญาณต่อแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของ BOJ ในปีหน้า หลังล่าสุดผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า BOJ จะสามารถทยอยขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าสู่ระดับ 0.50% และอาจขึ้นดอกเบี้ยต่อสู่ระดับ 0.75% ในปี 2025 เช่นเดียวกันกับธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ที่เราคาดว่า BI จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 6.00% เพื่อรักษาเสถียรภาพของเงินอินโดนีเซียรูเปียะห์ (IDR) แม้ว่าโดยรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงบ้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อก็ชะลอลงและอยู่ในกรอบเป้าหมาย 1.5%-3.5% ขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) นั้น เราคาดว่า BSP อาจลดดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 5.75% หลังอัตราเงินเฟ้อได้ชะลอลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 2%-4% อีกทั้งในช่วงหลัง เงินฟิลิปปินส์เปโซ (PHP) ก็ไม่ได้อ่อนค่าลงหนัก ท่ามกลางแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ทั้งนี้ ในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ในเดือนธันวาคม รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนพฤศจิกายน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของ BOJ
- ฝั่งไทย – ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยเราประเมินว่า กนง. อาจมีมติคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25% ทว่าอาจมีการส่งสัญญาณพร้อมปรับนโยบายการเงินให้ผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในกรณีที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้มาก สำหรับแนวโน้มเงินบาทนั้น หากประเมินในเชิงเทคนิคัล
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!