เหตุการณ์และตัวเลขเศรษฐกิจน่าติดตาม
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2568
- วันหยุดสหรัฐอเมริกา - วันรำลึกมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
วันอังคารที่ 21 มกราคม 2568
- GBP การเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เรียกร้อง ตัวเลขคาดการ์ณ 10.3K ตัวเลขครั้งก่อน 0.3K
- CAD ดัชนีราคาผู้บริโภค (เดือนต่อเดือน) ตัวเลขคาดการ์ณ -0.7% ตัวเลขครั้งก่อน 0.0%
- CAD ดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย (ปีต่อปี) ตัวเลขคาดการ์ณ 2.5% ตัวเลขครั้งก่อน 2.7%
- CAD ดัชนี CPI ที่ปรับลดลง (ปีต่อปี) ตัวเลขคาดการ์ณ 2.5% ตัวเลขครั้งก่อน 2.7%
วันพุธที่ 22 มกราคม 2568
- NZD ดัชนีราคาผู้บริโภค ไตรมาส/ไตรมาส ตัวเลขคาดการ์ณ 0.5% ตัวเลขครั้งก่อน 0.5%
วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2568
- CAD ยอดขายปลีกหลักต่อเดือน ตัวเลขคาดการ์ณ 0.0% ตัวเลขครั้งก่อน 0.1%
- CAD ยอดขายปลีกต่อเดือน ตัวเลขคาดการ์ณ 0.1% ตัวเลขครั้งก่อน 0.6%
- USD การเรียกร้องสิทธิการว่างงาน ตัวเลขคาดการ์ณ 220K ตัวเลขครั้งก่อน 217K
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568
- JPY อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ BOJ ตัวเลขคาดการ์ณ<0.50%ตัวเลขครั้งก่อน <0.25%
- JPY คำแถลงนโยบายการเงิน
- JPY รายงานแนวโน้ม ธปท.ญี่ปุ่น
- JPY การแถลงข่าวของ BOJ
- EUR ภาคการผลิตแฟลชของฝรั่งเศส PMI ตัวเลขคาดการ์ณ 42.4 ตัวเลขครั้งก่อน 41.9
- EUR บริการแฟลชของฝรั่งเศส PMI ตัวเลขคาดการ์ณ 49.5 ตัวเลขครั้งก่อน 49.3
- EUR ภาคการผลิตแฟลชของเยอรมนี PMI ตัวเลขคาดการ์ณ 49.9 ตัวเลขครั้งก่อน 42.5
- EUR บริการแฟลชของเยอรมนี PMI ตัวเลขคาดการ์ณ 51.1 ตัวเลขครั้งก่อน 51.1
- GBP การผลิตแบบแฟลช PMI ตัวเลขคาดการ์ณ 46.9 ตัวเลขครั้งก่อน 47.0
- GBP แฟลชเซอร์วิส PMI ตัวเลขคาดการ์ณ 50.8 ตัวเลขครั้งก่อน 51.1
- USD การผลิตแบบแฟลช PMI ตัวเลขครั้งก่อน 49.4
- USD แฟลชเซอร์วิส PMI ตัวเลขครั้งก่อน 56.8
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
- ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (S&P Global Manufacturing & Services PMIs) เดือนมกราคม รวมถึงรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) พร้อมกันนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับเศรษฐกิจและตลาดการเงินได้ โดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะ หุ้นเทคฯ ใหญ่ อย่าง Netflix (NASDAQ:NFLX)
- ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE และ ECB รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ ข้อมูลตลาดแรงงานอังกฤษ ที่ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น อัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Wage Growth) รวมถึง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของทั้งอังกฤษและยูโรโซน ในเดือนมกราคม โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า BOE มีโอกาสราว 58% ที่จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง หรือ 75bps ในปีนี้ ส่วน ECB อาจลดดอกเบี้ยได้ถึง 4 ครั้ง หรือ 100bps (ผู้เล่นในตลาดให้โอกาสถึง 99%)
- ฝั่งเอเชีย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งเรามองว่า BOJ อาจเลือกที่จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% ไปก่อนเพื่อรอประเมินทิศทางนโยบายรัฐบาล Trump 2.0 รวมถึงรอลุ้นผลการเจรจาค่าจ้างญี่ปุ่นในช่วงต้นปี ทว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่และผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า BOJ อาจขึ้นดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 0.50% และยังเชื่อว่า BOJ อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้อีก 1 ครั้ง ในปีนี้ สู่ระดับ 0.75% นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญญี่ปุ่น อาทิ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ในเดือนมกราคม ยอดการส่งออกและนำเข้า รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนธันวาคม ส่วนทางฝั่งมาเลเซีย เรามองว่า ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.00% ซึ่งมีความเหมาะสมต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและพัฒนาการของอัตราเงินเฟ้อล่าสุด ทั้งนี้ BNM อาจเดินหน้าลดดอกเบี้ยได้บ้าง หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ที่รุนแรง
- ฝั่งไทย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลการดำเนินงานของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มการเงิน ซึ่งอาจช่วยพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของตลาดหุ้นไทยได้บ้าง นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม แนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump โดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้า ซึ่งอาจกดดันการค้าโลกและส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนของไทยได้ สำหรับแนวโน้มเงินบาทนั้นหากประเมินจากกลยุทธ์ Trend-Following เรามองว่าเงินบาทยังมีโอกาสทยอยอ่อนค่าลงหรืออย่างน้อยแกว่งตัว Sideways ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้กลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนทะลุโซนแนวรับ 34.30 บาทต่อดอลลาร์อย่างชัดเจน ส่วนโซนแนวต้านของเงินบาทได้ขยับลงมาแถว 34.50 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไป 34.85 และ 35.00 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่โซนแนวรับจะอยู่แถว 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์ และจะมีโซนแนวรับสำคัญช่วง 34.00 บาทต่อดอลลาร์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!