บทคัดย่อ:สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนพฤศจิกายน โดยต้องจับตาว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในส่วนภาคการบริการที่ไม่รวมผลของราคาที่อยู่อาศัย (Core Services ex Housing) ซึ่งข้อมูลที่เฟดจับตาอย่างใกล้ชิด จะชะลอตัวลงต่อเนื่องได้หรือไม่ เพราะหากอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวกลับเร่งตัวขึ้น ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดได้บ้าง
สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนพฤศจิกายน โดยต้องจับตาว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในส่วนภาคการบริการที่ไม่รวมผลของราคาที่อยู่อาศัย (Core Services ex Housing) ซึ่งข้อมูลที่เฟดจับตาอย่างใกล้ชิด จะชะลอตัวลงต่อเนื่องได้หรือไม่ เพราะหากอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวกลับเร่งตัวขึ้น ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดได้บ้าง ซึ่งอาจหนุนให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น กดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาทได้
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (แกว่งตัวในช่วง 34.68-34.91 บาทต่อดอลลาร์) ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด อาทิ ประมาณการอัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 รวมถึงดัชนีภาคการผลิตโดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ต่างออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงมีความหวังว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งผลให้เฟดสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ตามคาด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดันจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินโดยรวม (Risk-On) ซึ่งลดความต้องการถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ขณะเดียวกัน การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ยังได้ช่วยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทดสอบโซนแนวต้านอีกครั้ง ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังผู้เล่นในตลาดยังคงมั่นใจว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในปีหน้า ขณะเดียวกัน ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ลดความต้องการถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยลงบ้าง ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลงใกล้ระดับ 101.8 จุด (กรอบ 101.7-102.4 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความหวังของบรรดาผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้า ได้หนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทดสอบโซนแนวต้านสำคัญแถว 2,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนกลับมาขายทำกำไรทองคำอีกครั้ง โดยโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น
สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนพฤศจิกายน โดยต้องจับตาว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในส่วนภาคการบริการที่ไม่รวมผลของราคาที่อยู่อาศัย (Core Services ex Housing) ซึ่งข้อมูลที่เฟดจับตาอย่างใกล้ชิด จะชะลอตัวลงต่อเนื่องได้หรือไม่ เพราะหากอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวกลับเร่งตัวขึ้น ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดได้บ้าง ซึ่งอาจหนุนให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น กดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาทได้
นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากฝั่งอังกฤษ อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤศจิกายน โดยหากภาพการใช้จ่ายของผู้คนในอังกฤษยังคงขยายตัวได้ดี ก็อาจช่วยลดความคาดหวังของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ BOE ลงได้บ้าง ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่าลงของเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ได้ หรือ หากยอดค้าปลีกขยายตัวดีกว่าคาด ก็อาจช่วยหนุนให้เงินปอนด์ทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้างเช่นกันโดยแนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า โมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงคืนที่ผ่านมาอาจชะลอลงได้บ้าง โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ว่าจะมีทิศทางชะลอตัวลงตามคาดหรือไม่ ทำให้เราประเมินว่า เงินบาทอาจแกว่งตัวในโซน 34.65-34.85 บาทต่อดอลลาร์ ได้ในช่วงก่อนตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ทั้งนี้ บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐฯ อาจช่วยหนุนให้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อได้ เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติสามารถทยอยเข้าซื้อหุ้นไทย เพื่อลุ้น Year-end Rally ต่อได้บ้าง โดยแรงซื้อหุ้นไทยดังกล่าว อาจช่วยหนุนให้เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นได้ ทว่า เราเริ่มเห็นแรงขายทำกำไรสถานะถือครองบอนด์ของนักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้ ซึ่งอาจลดทอนผลของแรงซื้อหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ เรามองว่า บรรดาผู้นำเข้าอาจรอจังหวะเงินบาทแข็งค่าในการทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ ทำให้ เงินบาทอาจยังไม่ผ่านโซนแนวรับ 34.50-34.60 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ง่ายนัก
ในช่วงนี้ เราพบว่า ความผันผวนของเงินบาทยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
.
เปิดประสบการณ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพ ด้วยแอปพลิเคชัน Wikitrade ดาวน์โหลดตอนนี้รับบัญชีเทรดทดลอง 100,000 USD ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์มือใหม่หรือมีประสบการณ์มาก่อน Wikitrade จะพาคุณไปสู่โลกของการลงทุนอย่างมืออาชีพ!
ดาวน์โหลด WikiTrade เลย : https://wikitrade.onelink.me/kGMJ/1dvgd5o3
ตลาด Forex กับ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ นั้นเหมือนหรือต่างกันยังไง?
หลอกล่อให้ส่งภาพและสร้างความน่าเชื่อถือด้วยรายได้เริ่มต้นต่ำ แต่มีโบันสเพิ่มเติมโชว์หลักฐานการทำงานและการจ่ายเงินปลอมผ่านข้อความในกลุ่มดึงดูดด้วยผลตอบแทนสูงและคำอ้างที่น่าเชื่อถือ เช่น การจดทะเบียนบริษัท ใช้ข้ออ้างเรื่อง VIP หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เสียหายลงทุนเพิ่ม
บทวิเคราะห์ราคาคริปโต
รีวิวโบรกเกอร์ DBG Markets
FXTM
Exness
DBG Markets
IC Markets Global
Doo Prime
XM
FXTM
Exness
DBG Markets
IC Markets Global
Doo Prime
XM
FXTM
Exness
DBG Markets
IC Markets Global
Doo Prime
XM
FXTM
Exness
DBG Markets
IC Markets Global
Doo Prime
XM